![]() |
![]() |
บริการวิชาการที่ดำเนินงานโดยศูนย์บริการผลิตและควบคุมคุณภาพเภสัชภัณฑ์ ได้แก่
1. การตรวจวิเคราะห์คุณภาพยา เภสัชภัณฑ์ เครื่องสำอาง อาหาร สมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
- การวิเคราะห์หารปริมาณตัวยาสำคัญในเภสัชภัณฑ์ (%Labeled amount) และพิสูจน์เอกลักษณ์สาร
- การทดสอบความสม่ำเสมอของปริมาณตัวยาสำคัญ (Uniformity of Dosage Units)
- การทดสอบการละลาย (Dissolution Test)
- การทดสอบการแตกกระจายตัว (Disintegration)
- การทดสอบความคงตัว (Stability Test)
- การให้บริการวิเคราะห์สมุนไพร ได้แก่ วิเคราะห์มาตรฐานสมุนไพร ตาม Thai Herbal Pharmacopoeia หาปริมาณสารสำคัญของยาสมุนไพร การตรวจสอบการปนเปื้อนโลหะหนักในยาและผลิตภัณฑ์สมุนไพรการกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพร การตรวจหาสเตียรอยด์ หาปริมาณเชื้อรา แบคทีเรียในสมุนไพร บริการเตรียมวัตถุดิบสมุนไพร
- การวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา ได้แก่ Microbial assay วิเคราะห์หา จำนวนเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมด โคลิฟอร์ม ยีสต์ และรา สตาฟิโลค็อกคัส ออเรียส ซาลโมเนลลา เป็นต้น
- การให้บริการอื่น ๆ ได้แก่ การทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพ เช่น ความเป็นกรด-ด่าง หาปริมาณความชื้น วัดขนาดอนุภาค Loss on drying
![]() |
![]() |
![]() |
2. การให้บริการศึกษาชีวสมมูลยา (Bioequivalence Study)
- บริการศึกษาชีวสมมูลยา ที่ผลิตในประเทศเทียบกับยาต้นแบบ ด้วยทีมงานนักวิจัยที่มีคุณภาพทั้งทางด้านวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ และด้านการทดสอบทางคลินิก ช่วยส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาชีวสมมูลระดับสากลในภูมิภาค เพื่อให้ประเทศสามารถพึ่งพนตนเองทางด้านยาได้ ลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศ และเป็นการส่งเสริมระดับนโยบายของรัฐบาล ในโครงการหลักประกันสุขภาพดีถ้วนหน้า
![]() |
![]() |
![]() |
3. การวิจัยและพัฒนาสูตรตำรับ เพื่อการผลิตยา และเครื่องสำอางที่มีคุณภาพ
4. การให้บริการเครื่องมือวิจัยทางวิทยาศาสตร์
- ได้แก่ HPLC, UV-Vis spectrophotometer, Infrared Spectroscopy, Dissolution appararus, Freeze dryer, Vacuum oven
5. เป็นหน่วยตรวจสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP)
- โดยความร่วมมือกับสำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เพื่อเสริมสร้างศักยภาพ และยกระดับกระบวนการผลิต มาตรฐานและคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน
การขอใช้บริการ
![]() ![]() |
บุคลากร
![]() ![]() |
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://plsc.pharmacy.psu.ac.th